วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชา

โครงการสอน
รหัสวิชา  PC54505   3(2-2-5)วิชานวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา 
Innovation, Technology and Information in Educationสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
 คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
าคเรียน1/2555
 _________________________________________________________________
คำอธิบายรายวิชา     ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์  ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศ  แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้  การสร้าง  การออกแบบ  การนำไปใช้  การประเมินผล  การปรับปรุงนวัตกรรม  สามารถเลือกใช้  ออกแบบ  สร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนวัตถุประสงค์    เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
    1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
    6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
    7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
    10. เสนอแนวทางในการสร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
    11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
    12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง
รูปแบบการเรียนการสอน     เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) กับการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Learning)
วิธีสอน     ใช้วิธีสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning)  และวิธีสอนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning)
เนื้อหาบทเรียนหน่วยการเรียนที่ 1  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2  หลักการ แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารมสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 3  การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4  จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 5  การออกแบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6  นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 7  คอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 8  เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 9  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบ หมายถึง ภาระหรือพันธะผูกพันในการจะปฏิบัติหน้าที่การงานของผู้ร่วมงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ
เนื่องจากบุคคลต้องอยู่ร่วมกันทำงานในองค์การ จำเป็นต้องปรับลักษณะนิสัย เจตคติของบุคคลเพื่อช่วยเป็นเครื่องผลักดันให้ปฏิบัติงานตามระเบียบรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและมีความซื่อสัตย์สุจริต คนที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้การปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น ความรับผิดชอบจึงเป็นภาระผูกพันที่ผู้นำต้องสร้างขึ้นเพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างดี

ถ้าในองค์การใดมีบุคคลที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้เกิดผลดีต่อองค์การดังนี้คือ

1.องค์การจะได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากผู้ร่วมงานและผู้อื่น
2.การปฏิบัติงานจะพบความสำเร็จทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์ ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
3.ทำให้เกิดความเชื่อถือในตนเอง เพราะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเรียบร้อย
4.องค์การเกิดความมั่นคงเป็นที่ยอมรับนับถือจากผู้อื่น
5.องค์การประสบความสำเร็จสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นปึกแผ่นและมั่นคง
6.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ  การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน  แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก  แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว  เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์  การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้  ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น  คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน  คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว  โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ  โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้  นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง  การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก  คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง  ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น  คนฟังยิ่งมากยิ่งดี  ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน  แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน  เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย
การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น  แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น  หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน  หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้  ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง  การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ  นี่เอง  การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน  เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้
การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม  จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น  เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้  จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่  หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง  หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม  หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม  เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน  การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน  เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน  เช่นคุณทำก่อน  เธอทำก่อน  แล้วผมค่อยทำ  แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน  เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที  ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ  ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่  ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์  แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย
การจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี  ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน  หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง  ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน  หากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้  แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์  รู้จักทำหน้าที่  ฯลฯ  นั่นเอง
ชื่อ นาย คำพล ปลูกบุญทรง